Welcome to Thai Travel Clinic

Thai Travel Clinic

Hospital for Tropical Diseases
Faculty of Tropical Medicine, Mahidol University

Main Menu

มี 46 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

โครงสร้างและเนื้อหา
หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน

สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว
คณะเวชศาสตร์เขตร้อน

พ.ศ. ๒๕๖๒

ชื่อหลักสูตร

 หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม  

                          สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน   แขนงเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว

             Residency Training in Preventive Medicine (Travel Medicine)


ชื่อวุฒิบัตร

วุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม 

               สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว

             Diploma of the Thai Board of Preventive Medicine (Travel Medicine)           

ชื่อย่อ

            วว.  เวชศาสตร์ป้องกัน แขนงเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว

            Dip. Preventive Medicine (Travel Medicine)           


พันธกิจของการฝึกอบรม

             เวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว เป็นเวชศาสตร์ป้องกันแขนงใหม่ ที่เกิดจากการบูรณาการของศาสตร์ต่างๆทางด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางและท่องเที่ยว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยวจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะทั้งในด้านวิทยาการระบาดและเวชปฏิบัติโรคเขตร้อนและโรคอื่นๆ ที่สำคัญทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก การเฝ้าระวัง สอบสวน และป้องกันควบคุมโรคติดต่อ รวมถึงสา มารถบูรณาการความรู้และทักษะเหล่านี้เพื่อต่อยอดองค์ความรู้และสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ได้

คณะเวชศาสตร์เขตร้อนในฐานะสถาบันทางการแพทย์ที่มีบุคลากรและองค์ความรู้ในศาสตร์สาขานี้มายาวนานจึงได้มีบทบาทในการเป็นสถาบันหลักในการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางสาขาดังกล่าว โดยกำหนดพันธกิจของหลักสูตรดังนี้

            เพื่อผลิตแพทย์เฉพาะทางที่มีความรู้ความสามารถในการประเมินความเสี่ยง ให้คำปรึกษา ให้ความรู้ ที่เกี่ยวเนื่องกับการป้องกันและดูแลรักษาผู้เดินทางและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศอย่างถูกต้องเหมาะสมในแต่ละบริบท รวมถึงร่วมในทีมเฝ้าระวัง สอบสวนโรคที่เกิดจากการเดินทางและท่องเที่ยว และจัดการแก้ไขปัญหา / โรคและภัยสุขภาพต่างๆ อันเกี่ยวเนื่องกับการเดินทางและท่องเที่ยวได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีคุณธรรมจริยธรรมในการเป็นแพทย์ที่ดี

            นอกจากนี้บัณทิตแพทย์ต้องมีความสามารถในการเรียนรู้เพื่อให้มีการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ความสามารถด้านการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ ความเป็นมืออาชีพ การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ การทำงานเป็นทีม การปฏิบัติงานแบบสหวิชาชีพ ความรู้ความเข้าใจในระบบสุขภาพของประเทศ การบริหารจัดการ กระบวนการคุณภาพและความปลอดภัย ตลอดจนความรับผิดชอบ มีจริยธรรม ทัศนคติ และเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วย ผู้ร่วมงาน และองค์กร มีความเอื้ออาทรและใสใจในความปลอดภัย โดยยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง

พันธกิจและผลลัพท์การฝึกอบรม  ดูรายละเอียดได้ที่นี่ pdf 

วัตถุประสงค์

           เพื่อให้แพทย์ที่ผ่านการอบรมแล้ว  มีความรู้ความชำนาญในการ วางแผน ดำเนินการจัด และให้บริการด้านเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว โดยจะต้องมีความสามารถในการปฏิบัติงานดังนี้ คือ

1. อธิบายประเด็นความเกี่ยวข้องระหว่างการเดินทางและท่องเที่ยวกับสุขภาพของคน

2. ให้บริการเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยวตามขั้นตอนเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรค การวินิจฉัยการรักษาโรค  และการฟื้นฟูสภาพจากโรคทั้งติดต่อและไม่ติดต่อ ที่เกี่ยวเนื่องกับการเดินทางและท่องเที่ยว

3. บริหารจัดการภาวะฉุกเฉินทางการเดินทางและท่องเที่ยว และการส่งต่อผู้ป่วย

4. ดำเนินการระบบเฝ้าระวังโรคที่เกี่ยวเนื่องกับการเดินทางและท่องเที่ยว

5. ตรวจคัดกรองสุขภาพเริ่มแรก  และต่อเนื่อง  ให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งก่อนการเดินทางและหลังการเดินทาง

6. เผยแพร่  ฝึกอบรม  ให้คำแนะนำและคำปรึกษาเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ  การป้องกันควบคุมโรค การรักษาและการฟื้นฟูสภาพให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ สาธารณสุข  และประชาชนทั่วไป ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางและท่องเที่ยว

7. ประยุกต์ใช้กฏหมายที่เกี่ยวกับการเดินทาง และการควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ  ได้เป็นอย่างดี

8. ประยุกต์ใช้ ระบบข้อมูล สารสนเทศด้านเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยวและสามารถนำมาใช้ในการบริการ การเรียนการสอนและการศึกษาวิจัยได้

9. ดำเนินการวิจัย  และนำเสนอผลงานทางวิชาการอย่างถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ได้

10. มีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ และเจตคติที่ดีต่อผู้รับบริการ ผู้ร่วมงาน เพื่อนร่วมวิชาชีพ และชุมชน

เนื้อหาโดยสังเขปของการฝึกอบรม

 (Download เนื้อหาหลักสูตรฉบับสมบูรณ์ ได้ที่นี่)

1. พื้นฐานและหลักการของเวชศาสตร์ป้องกัน
2. ความรู้พื้นฐานด้านเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว
3. การให้คำปรึกษาก่อนการเดินทาง
4. การควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคที่พบบ่อยและสำคัญของเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว
5. ปัญหาทางการแพทย์ และสาธารณสุขที่สำคัญของเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว
6. วิทยาการระบาด การเฝ้าระวัง สอบสวนโรคที่เกี่ยวกับการเดินทางและท่องเที่ยว/ระเบียบวิธีวิจัย
7. เวชศาสตร์การบินที่เกี่ยวข้องกับเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว

8. การเฝ้าระวัง และติดตามผู้ป่วยที่เป็นโรคหลังการเดินทางและท่องเที่ยว
9. ทักษะ/เจตคติของวิชาชีพ และความรู้ทางด้านบูรณาการ

ระยะเวลาในการฝึกอบรม  3 ปี   เริ่มตั้งแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม ของทุกปี

วิธีการฝึกอบรม

1. ฝึกปฎิบัติงานในคลินิกเวชศาสตร์ท่องเที่ยวและการเดินทาง และคลินิกอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

2. ประเมินและให้คำแนะนำในนักเดินทางทั้งก่อนและหลังการเดินทาง ตลอดจนการเฝ้าระวังโรค

3. ให้การดูแลรักษา และประเมินนักเดินทางที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับการเดินทางและท่องเที่ยว ทั้ง OPD, IPD

    และอยู่เวรนอกเวลาราชการ

4. ฟังบรรยาย เข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการต่างๆ เช่น Journal club, Case discussion, Topic review
5. ศึกษาดูงานและปฏิบัติงานในหน่วยงาน สถาบัน องค์กรที่เกี่ยวข้องกับเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว เช่น

    ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศต่างๆ สนามบิน ท่าเรือ ศูนย์ผู้อพยพลี้ภัย 
6. ศึกษาหลักสูตรปริญญาโท ด้านอายุรศาสตร์เขตร้อน (MCTM) 
7. ทำการวิจัย ในสาขาเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว 

8. เข้าร่วมประชุมวิชาการ และร่วมนำเสนอผลงานในด้านเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว


จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม
 ไม่เกิน 3 คน


หน่วยงานที่รับผิดชอบ

คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย

แพทยสภา

Build a Mobile Website
View Site in Mobile | Classic
Share by: